Tag:

sick

Patent Ductus Arteriosus ในทารกแรกเกิด

Patent Ductus Arteriosus ในทารกแรกเกิด

PDA พบได้บ่อยในทารกแรกเกิดโดยเฉพาะทารกเกิดก่อนกำหนด และมีกลุ่มอาการหายใจลำบากรุนแรง ( severe respiratory distress syndrome ) พบบ่อยขึ้นในทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 1,000 กรัม ( extremely low birth weight ) ซึ่งมีอัตราการเกิด PDA สูงถึงร้อยละ 70

อายุของทารกแรกเกิดในระยะปริกำเนิด

นิยามคำศัพท์ ทารกแรกเกิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกเกิดก่อนกำหนดจะมีอายุที่จะต้องประเมินและเกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลที่หลากหลาย  การให้คำนิยามของแต่ละอายุของทารกแรกเกิดอย่างชัดเจนและตรงกันในระหว่างสถาบันมีความสำคัญเพื่อนำไปใช้ในการประเมินพัฒนาการด้านระบบประสาท ( neurodevelopment ) เป็นแนวทางการรักษาพยาบาลในบางด้าน ตลอดจนเพื่อให้การติดตามและรายงานผลลัพธ์ด้านสุขภาพของทารกแรกเกิดมีความน่าเชื่อถือ

พยาบาลกับการเฝ้าระวัง

ภาวะติดเชื้อในระยะแรกในทารกแรกเกิด

พยาบาลกับการเฝ้าระวัง ภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด (neonatal sepsis )เป็นกลุ่มอาการทางคลินิกที่เกิดจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตของทารกแรกเกิด ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุการตายและความพิการที่สำคัญในประเทศไทย ภาวะติดเชื้อในระยะแรก ( early sepsis ) เป็นภาวะที่การติดเชื้อนั้นเกิดขึ้นระหว่าง 72 ชั่วโมงหรือสัปดาห์แรกหลังเกิด ( Makhoul,et al,2002, Behrman, Kleigman&Jenson, 2003 ) ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากทารกได้รับเชื้อโรคจากร่างกายของมารดาซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายทารกได้ 4 ทางคือ1)เชื้อจากช่องคลอดเข้าไปในถุงน้ำคร่ำทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อที่สายสะดือและเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดของสายสะดือ 2)ทารกหายใจหรือกลืนเอาน้ำคร่ำที่มีเชื้อโรคปนอยู่

บทบาทพยาบาลในการให้ยาเด็กอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

การให้ยาเด็กเป็นการปฏิบัติการพยาบาลที่สำคัญของพยาบาล ที่ต้องไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด ดังนั้น พยาบาลควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการให้ยาเด็กเป็นอย่างดี

การลดการสูญเสียน้ำและความร้อนทางผิวหนังในทารกเกิดก่อนกำหนด

การควบคุมอุณหภูมิกายให้เป็นปกติมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด  เนื่องจากทารกเกิดก่อนกำหนดมีความสามารถในการปรับตัวให้มีอุณหภูมิกายคงที่จำกัด  หากไม่สามารถควบคุมให้ทารกมีอุณหภูมิกายปกติจะทำให้ทารกเสี่ยงที่เสียชีวิต ความเจ็บป่วยที่เป็นอยู่รุนแรง มากขึ้น  หรือทำให้อัตราการเกิดโรค (morbidity)  ในทารกเพิ่มขึ้น

Esophageal atresia (EA) and tracheoesophageal fistula (TEF)

ในขณะที่ยังเป็นตัวอ่อน เนื้อเยื่อของหลอดลมและหลอดอาหารเป็นท่อรวมท่อเดียวกัน ต่อมาจึงมีการเจริญแยกจากกันโดยหลอดอาหารอยู่ด้านหลังส่วนหลอดลมอยู่ด้านหน้า หากมีการเจริญผิดปกติท่อทั้งสองนี้ อาจแยกจากกันไม่สมบูรณ์ Esophageal atresia (EA) หมายถึง หลอดอาหารตัน เกิดจากหลอดอาหารช่วงบนและช่วงล่างไม่เจริญเชื่อมติดกันเป็นช่องได้ตลอดแนว Tracheoesophageal fistule [T-E fistula ] หมายถึง การมีรูติดต่อระหว่างหลอดลมและหลอดอาหาร อาจพบร่วมกับ esophageal atresia