Primitive Reflexes… กิริยาตอบสนองดั้งเดิมของทารก

Newborn

โดยปกติ… ทารกในครรภ์มารดาจะเริ่มดิ้นให้คนเป็นแม่ ได้รับสัมผัสสุดพิเศษที่มีเฉพาะแม่ผู้ให้กำเนิดเท่านั้นที่จะได้สัมผัส และเมื่อทารกถือกำเนิดขึ้น การขยับอวัยวะแขนขา หรือการดิ้นเหมือนตอนอยู่ในท้องจะยังติดมา แต่พื้นที่ให้ยืดแขนขามีมากกว่าตอนอยู่ในท้อง และยังได้สัมผัสอากาศภายนอก ที่ระบบทางเดินหายใจเริ่มขับเคลื่อนเครื่องจักรชีวภาพในตัวทุกชิ้น… ทารกเกิดใหม่จึงมีการเคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทาง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเรียกกิริยาการดิ้นและปฏิกิริยาของทารกเกิดใหม่นี้โดยรวมว่า Primitive Reflex หรือ Infantile Reflexes หรือ  Infant Reflexes หรือ Newborn Reflexes

Primitive Reflexes เป็นปฏิกิริยาทางประสาทวิทยาที่มีในทารกแรกเกิดทุกคน และจะหายไปเมื่อเด็กเติบโตขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งหายไปเพราะสมองส่วนหน้าเจริญเติบโตขึ้น

อย่างไรก็ตาม เด็กโตและผู้ใหญ่ที่มีสภาวะของระบบประสาทไม่ปกติ เช่น คนไข้อัมพาตสมองใหญ่ ภาวะสมองเสื่อม, การบาดเจ็บทางสมอง โดยกลไกสำคัญในการควบคุม Primitive Reflexes คือ ระบบประสาทสั่งการนอกพีระมิด หรือ Extrapyramidal System และเมื่อเส้นใยประสาทพีระมิด หรือ Pyramidal Tracts ทำงานได้มากขึ้น อาการ Primitive Reflexes จึงจะหายไป

ประเด็นก็คือ Primitive Reflexes ที่มีในเด็กทารกแรกเกิด กับที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่เนื่องจากการบกพร่องทางสมองและประสาทนั้น อาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ซึ่งในบทนี้จะพูดถึงเฉพาะ Primitive Reflexes ในทารกแรกเกิด ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกและสูติกรรม ใช้ในการประเมินสุขภาพทารกแรกเกิด ซึ่งมีแนวปฏิบัติหรือ Guideline ชัดเจนว่าจะต้องประเมินในมิติดังนี้คือ

 

  1. Rooting Reflex เป็นปฏิกิริยาสัมพันธ์กับการกิน ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 3–4 เดือน และหากยังพบหลงเหลืออยู่อาจส่งผลต่อ การกลืน หรือ Swallowing การรับประทานอาหาร หรือ Feeding การพูด หรือ Speech การออกเสียง หรือ Articulation และความแม่นยำในการควบคุมมือ Manual Dexterit เมื่อเด็กโตขึ้น

  2. Sucking Reflex เป็นปฏิกิริยาสามัญในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดและมีตั้งแต่คลอด และเชื่อมกับ Rooting Reflex กับการให้นมของแม่ โดยทารกจะดูดทุกอย่างที่สัมผัสเพดานปากซึ่งกระตุ้นการดูดนมตามธรรมชาติของเด็ก และปฏิกิริยานี้จะมี 2 ช่วงคือ
    1. Expression หรือ ช่วงปรากฏ หรือ ช่วงสัมผัส เกิดเมื่อใส่หัวนมไว้ในปากเด็กแล้วแตะเพดานปาก เด็กจะอมหัวนมไว้ระหว่างลิ้นกับเพดานแล้วดูดนม
    2. Milking หรือ ช่วงการดูดน้ำนม เด็กจะลากลิ้นจากลานนมไปที่หัวนม ซึ่งกระตุ้นให้นมออกจากหัวนมและสัมพันธ์กับการได้กลืน

  1. Moro Reflex เป็นปฏิกิริยาการตอบสนองสู้หรือหนี หรือ Fight or Flight ในการตอบสนองต่อความเครียด ไม่ควรพบในช่วงอายุ 2–4 เดือน หากยังพบหลงเหลืออยู่จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็ก เนื่องจากปฏิกิริยานี้ไปกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนความเครียด

  2. Asymmetrical Tonic Neck Reflex หรือ ATNR เป็นปฏิกิริยาที่ฝึกการเคลื่อนไหวแยกซีกของร่างกาย ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 6 เดือน ถ้ายังพบจะมีความยากลำบากในการเคลื่อนไหวข้ามแนวกลางลำตัว รวมทั้งปัญหาการเคลื่อนไหวของมือสองข้าง ปัญหาการกวาดสายตาตามวัตถุ หรือ Ocular Pursuit และมีปัญหาการรับรู้ทางด้านสายตา หรือ Visual-perceptual

  3. Tonic Labyrinthine Reflex เป็นปฏิกิริยาการการทรงท่าซับซ้อน มีรูปแบบการทรงท่าในภาวะเคลื่อนที่สองลักษณะคือ เคลื่อนที่ไปข้างหน้า หรือ Forward TLR และ เคลื่อนที่ถอยหลัง หรือ Backward LTR โดย
    1. Forward LTR จะถูกยับยั้งเมื่ออายุ 4 เดือน ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่ จะนำไปสู่ปัญหาการรับรู้มิติสัมพันธ์ หรือ Spatial Problems อาการเมารถเมาเรือ หรือ Motion Sickness มีปัญหาการทรงท่าและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ หรือ Poor Posture & Muscle Tone มีปัญหาการรับรู้ทางสายตา หรือ Visual Perception มีปัญหาทักษะเรื่องลำดับ หรือ Sequencing Skills และมีปัญหาเกี่ยวกับเวลา หรือ  Poor Sense of Time
    2. Backward LTR ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ถึง 3 ปี ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่จะทำให้มีปัญหาการทรงท่าและสหสัมพันธ์การเคลื่อนไหว ทักษะการจัดลำดับงาน หรือ Organizational Skill และการเคลื่อนไหวขาดความราบรื่น หรือ Stiff Jerky Movements

  4. Palmar Grasp Reflex เป็นปฏิกิริยาการกำของเด็กทารก หรือ Grasp และถูกพัฒนาแทนที่ด้วยการใช้นิ้วหยิบอย่างตั้งใจ หรือ Pincer Grip เมื่อเด็กมีอายุ  36 สัปดาห์ เป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับชนิดหนึ่งที่มีผลต่อการเขียน การพูด การออกเสียงของเด็ก ปกติจะถูกยับยั้งเมื่ออายุ 2-3 เดือน ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่จะขัดขวางการพัฒนาความแม่นยำในการหยิบจับ และการเคลื่อนไหวของในมือ

  5. Plantar Reflex เป็นปฏิกิริยาการสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว หรือ Mobility และการทรงตัว หรือ Balance ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่จะขัดขวางการคืบ การสลับแขนและขาคลาน หรือ Cross-pattern Crawling รวมทั้งการพัฒนาการทำงานร่วมกันระหว่างตาและมือ หรือ Hand–Eye Coordination และการควบคุมการทรงตัว หรือ Vestibular ร่วมกับการควบคุมด้านอื่นๆ

  6. Galant Reflex หรือ The Spinal Gallant เป็นปฏิกิริยาการสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวลำตัว สามารถทดสอบด้วยการจัดท่าทารกนอนคว่ำ แล้วใช้นิ้วลากจากไหล่ขนานไปกับกระดูกสันหลังจนถึงสะโพก เพื่อดูปฏิกิริยาการบิดลำตัว Galant Reflex จะถูกยับยั้งเมื่ออายุ 3–9 เดือน ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่ อาจมีผลต่อการทรงตัว รูปแบบการเดิน หรือรูปแบบการเคลื่อนย้ายลำตัวอื่นๆ  กระทบต่อการพัฒนาปฏิกิริยาสะท้อนกลับ Amphibian Reflexes และ Segmental Rolling Reflexes เป็นสาเหตุของพฤติกรรมกระวนกระวาย หรือ Fidgeting พฤติกรรมฉี่รดที่นอน Bedwetting รวมทั้งมีปัญหาการจดจ่อ สมาธิและความจำระยะสั้น หรือ Short Term Memory

  7. Symmetrical Tonic Neck Reflex หรือ STNR พัฒนามาจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั้งเดิม และถูกสั่งการจากสมองชั้นสูง สัมพันธ์กับการอธิบายพัฒนาการของระบบประสาทส่วนกลาง หรือ Central Nervous System หรือ CNS

    จะทดสอบขณะเด็กอยู่ในท่าคลาน เมื่อก้มศีรษะลงทำให้แขนพับงอ ขาเหยียดตรง เมื่อเงยศีรษะขึ้นทำให้ขางอและเหยียดตรง ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 9–11 เดือน ถ้ายังพบหลงเหลืออยู่ส่งผลต่อการทรงตัว หรือ Posture การทำงานร่วมกันระหว่างตากับมือ หรือ Hand-Eye Coordination และทักษะการว่ายน้ำ หรือ Swimming Skill เป็นเหตุให้เด็กมีแนวโน้มที่จะเสียการทรงตัวเวลานั่งเก้าอี้ เดินกางขาเหมือนลิง หรือ Ape-like Walk การเคลื่อนไหวงุ่มง่าม หรือ Clumsy Child มีความยากลำบากในการใช้สองตาร่วมกัน หรือ Binocular Vision คัดลอกงานช้า รับประทานทานอาหารหกเลอะเทอะ

  8. The Transformed Tonic Neck Reflex หรือ TTNR เป็นปฏิกิริยาสะท้อนที่พัฒนาและสั่งการจากสมองชั้นสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การประมวลผลร่วมกันระหว่างร่างกายสองซีก หรือ Cross Lateral Integration มีการพัฒนาที่เหมาะสม ต้องเกิดขึ้นช่วงอายุ 6-8 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต  ถ้าไม่ปรากฏ TTNR แสดงว่าปฏิกิริยาดั้งเดิม หรือ Primitive Reflexes บางตัวยังคงหลงเหลืออยู่ และขัดขวางการพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลาง หรือ CNS

  9. The Amphibian Reflex  เป็นปฏิกิริยาสะท้อนที่พัฒนาและสั่งการจากสมองชั้นสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนไหวแยกซีกของร่างกายถูกพัฒนาอย่างเหมาะสม ต้องเกิดขึ้นช่วง 4-6 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต ถ้าไม่พบปฏิกิริยาสะท้อนกลับชนิดนี้ แสดงว่าปฏิกิริยาสะท้อนกลับดั่งเดิม หรือ Primitive Reflexes หลายชนิด โดยเฉพาะ ATNR ไม่ถูกยับยั้ง  ซึ่งจะขัดขวางพัฒนาการคลาน การเดิน และการวิ่ง

  10. Segmental Rolling  Reflex  เป็นปฏิกิริยาสะท้อนที่พัฒนาและสั่งการจากสมองชั้นสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ร่างกายสองซีกสามารถเคลื่อนไหวสัมพันธ์กันอย่างราบรื่น ซึ่งเป็นการประมวลร่วมกันของร่างกายทั้งสองซีกซ้ายขวา ต้องเกิดขึ้นในช่วงวัย 6–10 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต ซึ่งสำคัญต่อ การเดิน การวิ่ง การกระโดด การกระโดดเชือก การเดินสวนสนามและการว่ายน้ำ

  11. Oculo–Head Righting  Reflex หรือ OHRR เป็นปฏิกิริยาสะท้อนที่พัฒนาและสั่งการจากสมองชั้นสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การทรงท่าและการควบคุมการทรงท่าที่เกิดร่วมกับการเคลื่อนไหวลูกตา ถ้าพัฒนาไม่เต็มที่จะทำให้มีปัญหาการกวาดตามอง หรือ Visual Tracking บางคนมีปัญหาเวียนศีรษะคลื่นไส้ หรือ Nausea ปัญหาการรับรู้เวลาและสถานที่ หรือ Disorientation ต้องเกิดขึ้นช่วง 2–3 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต

  12. Labyrinthine–Head Righting  Reflex หรือ LHRR เป็นปฏิกิริยาสะท้อนที่พัฒนาและสั่งการจากสมองชั้นสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การทรงท่าและการควบคุมการทรงท่าที่เกิดร่วมกับการเคลื่อนไหวศรีษะ ซึ่งสะท้อนระบบการทรงตัว หรือ Vestibular Motor System  มีผลโดยตรงกับพัฒนาการด้านการเรียนรู้ โดย LHRR จะเกิดขึ้นช่วง 2–3 เดือนหลังคลอด และคงอยู่ตลอดชีวิต และทารกที่ขาด LHRR จะมีปัญหาการคัดลอกคำจากต้นฉบับหรือกระดาน และหากไปปรากฏปฏิกิริยาสะท้อนกลับ OHRR และ LHRR ด้วย หรือพบว่าไม่พัฒนาเต็มอย่างสมบูรณ์ จะทำให้เด็กมีความยากลำบากในการอ่าน

 

การใช้งานหรือการทดสอบ Primitive Reflexes โดยส่วนใหญ่จะทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการ และใช้เพื่อทดสอบประเมินพัฒนาการ… พ่อแม่ผู้ปกครองที่พาลูกน้อยไปพบแพทย์ตามนัด โดยทั่วไปจะได้รับการประเมิน Primitive Reflexes เพื่อประเมินพัฒนาการตามขั้นอยู่แล้ว และหากสงสัยพัฒนาการของลูก ก็สามารถนำลูกไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินพัฒนาการได้โดยตรง

 

 

 

 

2 Comments:
2 Trackbacks:

[…] อ้างจากแหล่งที่มา: … […]

[…] อ้างจากแหล่งที่มา: … […]

Comments are closed.