
Primitive Reflexes… กิริยาตอบสนองดั้งเดิมของทารก
โดยปกติ… ทารกในครรภ์มารดาจะเริ่มดิ้นให้คนเป็นแม่ ได้รับสัมผัสสุดพิเศษที่มีเฉพาะแม่ผู้ให้กำเนิดเท่านั้นที่จะได้สัมผัส และเมื่อทารกถือกำเนิดขึ้น การขยับอวัยวะแขนขา หรือการดิ้นเหมือนตอนอยู่ในท้องจะยังติดมา แต่พื้นที่ให้ยืดแขนขามีมากกว่าตอนอยู่ในท้อง และยังได้สัมผัสอากาศภายนอก ที่ระบบทางเดินหายใจเริ่มขับเคลื่อนเครื่องจักรชีวภาพในตัวทุกชิ้น… ทารกเกิดใหม่จึงมีการเคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทาง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเรียกกิริยาการดิ้นและปฏิกิริยาของทารกเกิดใหม่นี้โดยรวมว่า Primitive Reflex หรือ Infantile Reflexes หรือ Infant Reflexes หรือ Newborn Reflexes Primitive Reflexes เป็นปฏิกิริยาทางประสาทวิทยาที่มีในทารกแรกเกิดทุกคน

คุณพ่อนักอ่าน กับความสำคัญต่อลูกวัยก่อนเรียน
รายงานการวิจัยของ Dr. Elisabeth Duursma จึงอภิปรายไว้ตอนหนึ่งว่า การอ่านหนังสือโดยบิดาให้ทารกก่อนอายุ 2 ขวบปีฟัง ถือเป็นเรื่องพิเศษที่มีผลต่อสติปัญญาและพัฒนาการทางภาษาของลูกอย่างมีนัยยะสำคัญ

ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 6 เดือน
ถ้าท่านค้นหา “ของเล่นส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิด” ข้อมูลความเห็นมากมายที่มาพร้อมกับลิงค์สั่งซื้อ และโปรโมชั่นห่อของขวัญ คงดึงดูดหลายๆ ท่าน จนยากจะตัดสินใจว่าจะเลือกอะไรดี… บทความนี้อาสาเป็นคำแนะนำเพื่อช่วยท่านที่กำลังหาของขวัญดีๆ ให้สมาชิกใหม่ ที่ท่านไม่อยากพลาดโอกาสที่ปลื้มคนให้ แถมยังดีต่อวัยและพัฒนาการของคนรับ ที่สมองกำลังหิวกระหายการเรียนรู้จากทุกสัมผัส วัยทารกเป็นวัยที่มีพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ทำให้ทารกสามารถเริ่มพลิกคว่ำหงายได้เมื่ออายุ 3–4 เดือน ส่วนพัฒนาการด้านสังคม ทารกยังไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ดังนั้นใครเล่นด้วยก็ได้ แต่ก็จะมีหลากหลายอารมณ์ พอใจก็นิ่งสงบ ยิ้ม ถ้าไม่ได้ดั่งใจก็โวยวายร้องไห้

เชิญชวนดาวน์โหลด งานวิจัยฉบับเต็ม หัวข้อ Maternal participation on preterm infants care reduces the cost of delivery of preterm neonatal healthcare services
Thailand, with an annual incidence rate of 12% ranks high in incidence of preterm birth. Preterm infants require specialized care which can be lengthy and

Maternal Participation Program for Enhancing Growth and Neurobehavioral Development of Very and Moderately Preterm Infants: A Case Study
การให้แม่มามีส่วนร่วมในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดใน NICU เป็นเรื่องท้าทาย ผู้เขียนได้ทำ pilot study เพื่อดูความเป็นไปได้ในการใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของมารดาใน NICU

การประชุมวิชาการ เรื่อง การพยาบาลทารกแรกเกิดในยุคเทคโนโลยีดิจิตอลที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว : Neonatal Nursing in Digital Disruption World
ศูนย์บริการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเรียนเชิญพยาบาลวิชาชีพและผู้ที่สนใจทั่วไป เข้าร่วมการประชุมวิชาการ เรื่อง การพยาบาลทารกแรกเกิดในยุคเทคโนโลยีดิจิตอลที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว : Neonatal Nursing in Digital Disruption World ระหว่างวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2562ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว อ.เมือง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ค่าลงทะเบียน –

พัฒนาการที่สำคัญและแนวทางการดูแลเด็กในช่วงอายุ 0-35 เดือนแรก
ช่วง 0-35 เดือนแรกเป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการหลากหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย การรับรู้และเรียนรู้ อารมณ์และอื่น ๆ อีกหลายด้าน ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่พ่อแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจเพื่อที่จะสามารถดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเหล่านี้อย่างสอดคล้องกับช่วงวัยของเด็ก เอกสารเรื่องพัฒนาการที่สำคัญและแนวทางการดูแลเด็กในช่วง 0-35 เดือนแรก ที่จัดทำโดยองค์การยูนิเซฟนำเสนอข้อเท็จจริงและข้อแนะนำแนวทางในการปฏิบัติที่สำคัญสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วง 0-35 เดือนแรก

อาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ของทารกและเด็กเล็ก
อาหารและโภชนาการที่ดีในวัยทารกและเด็กเล็กเป็นพื้นฐานที่สำคัญของสุขภาพและสติปัญญาที่ดีในระยะยาว ปัจจุบันนี้ เด็กไทยนับล้านคนยังมีปัญหาโภชนาการทั้งโรคขาดสารอาหาร โรคอ้วน และนิสัยการกินอาหารไม่เหมาะสม สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวจึงได้จัดทำคู่มือ อาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ของทารกและเด็กเล็ก โดยปรับปรุงจากหนังสือ Facts for Life ขององค์การยูนิเซฟ

คู่มือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ทารกที่กินนมแม่จะได้รับสารอาหารที่ดีกว่าและป่วยด้วยโรคติดเชื้อและโรคภูมิแพ้น้อยกว่า กลุ่มที่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารอื่น และเติบโตอย่างมีพัฒนาการที่ดีกว่าทารกที่ถูกเลี้ยงด้วยนมผสมและอาหารอื่น


The effect of maternal participation in preterm’s care and improved short-term growth and neurodevelopment outcomes
บทความวิจัยตีพิมพ์ เรื่อง “The effect of maternal participation in preterm’s care and improved short-term growth and neurodevelopment outcomes” Nethong Namprom, , Wilawan Picheansathian, Usanee Jintrawet, Jutamas Chotibang ตีพิมพ์ใน Journal of Neonatal Nursing

Patent Ductus Arteriosus ในทารกแรกเกิด
PDA พบได้บ่อยในทารกแรกเกิดโดยเฉพาะทารกเกิดก่อนกำหนด และมีกลุ่มอาการหายใจลำบากรุนแรง ( severe respiratory distress syndrome ) พบบ่อยขึ้นในทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 1,000 กรัม ( extremely low birth weight ) ซึ่งมีอัตราการเกิด PDA สูงถึงร้อยละ 70