Clinical presentation in infant with patent ductus arteriosus, Physiologic consideration and complication

อาการทางคลินิกที่ใช้วินิจฉัยการเกิด PDA ได้แก่ การตรวจพบอาการ 3 ใน 5 อย่าง ต่อไปนี้

  1. systolic murmur at upper left sterna border (ULSB)
  2. hyperactive precordium
  3. bounding pulses (full pulse)
  4. wide pulse pressure
  5. increased need for respiratory support and increased arterial carbon dioxide levels


สาหรับการวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งมีความไวและความแม่นยาสูง คือ Echocardiogram แต่ในทางปฏิบัติยังเป็นปัญหาเนื่องจากขาดเครื่องมือนี้ใน NICU จึงต้องอาศัยอาการทางคลินิกช่วยในการประเมิน
พยาธิสรีรวิทยา

  1. การที่เลือดผ่าน ductus arteriosus เกิดเป็น tuberlent flow ทาให้ได้ยินเสียง murmur นอกจากนี้ยังทาให้เกิดปัญหาติดเชื้อภายในหัวใจได้บ่อย บริเวณ periductal infection
  2. แรงดันเลือดใน descending aorta และเส้นเลือดส่วนปลายจะตกเร็วและมากในช่วง diastole (diastolic run – off) ทาให้ pulse pressure กว้าง คลาได้ bounding pulses (normal pulse pressure in a preterm infant is between 15 – 25 mmHg. and in a term infant is between 25 – 30 mmHg.
  3. ปริมาณเลือดที่ไปปอดเพิ่มมากขึ้น ทาให้น้าและโปรตีนบางส่วนเข้าไปในถุงลมและรบกวน การสร้าง surfactant ทาให้สาร surfactant ซึ่งน้อยอยู่แล้วในทารกคลอดก่อนเกิดกาหนด ยิ่งน้อยลงไป surface tension ของถุงลมเพิ่มขึ้น lung compliance1 ยิ่งต่าลงเกิด hypoxemia hypercabia ภาพรังสีปอดเห็น alveolar edema
  4. เลือดจากปอดสู่ left atrium และ left ventricle เป็น volume load เวนติเคิลต้องสูบฉีดเลือดในปริมาณที่สูงขึ้นเพื่อให้มีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอ ทั้งนี้เพราะมีการรั่วไหลของเลือดเกิดขึ้น ทาให้เกิด congestive heart failure
  5. อัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก stroke volume ที่ลดลง ด้วยเหตุผลนี้ ในกลุ่มทารกคลอดก่อนกาหนดที่มี large PDA จึงทาให้มีความดันโลหิตต่า
  6. การที่มีภาวะความดันโลหิตต่า ทาให้เลือดที่ไปเลี้ยงไตลดลง ทาให้มีสารน้าและยาบางอย่างคั่งในร่างกาย หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงระบบทางเดินอาหาร เมื่อหดตัวลงร่วมกับ diastolic run – off ทาให้เกิดNEC เพิ่มสูงขึ้นได้
  7. diastolic pressure ที่ลดลงใน aorta ของเด็กทารกคลอดก่อนกาหนดทาให้ perfusion pressure แก่กล้ามเนื้อหัวใจลดลง เกิด subendocardial ischemia
  8. เลือดที่ออกจาก left ventricle จะเพิ่มปริมาณและแรงดันเลือด systolic ใน ascending aorta จะสูงขึ้นเล็กน้อยและผ่านต่อไปยังเส้นเลือด carotid artery เป็นปัจจัยเสริมให้เกิด intra ventricular hemorrhage (IVH) ได้
  9. ปริมาณออกซิเจนและแรงดันของการช่วยหายใจที่ต้องเพิ่มขึ้น ตลอดจนการที่เส้นเลือดแดงที่ไปปอดขยายตัวมากตลอดเวลา และแรงดันเลือดในปอดสูงขึ้นร่วมกัน ทาให้เกิด pulmonary vascular disease และ BPD

Download เอกสาร



เอกสารอ้างอิง

  1. Micheal Artman, Lym Mahony, David F. Teitel. (2002). Neonatal cardiology. The McGraw-Hill companies medical pleblishing division.
  2. Kristine, A., Kalsen, Lloyd, Y., Tani. (2003). S.T.A.B.L.E., Cardiac module. Park City, Utah.
  3. วัชระ จามจุรีรักษ์ (บรรณาธิการ). (2539). โรคหัวใจเด็กปัญหาและการรักษา (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ : ชัยเจริญ.