Esophageal atresia (EA) and tracheoesophageal fistula (TEF)

ในขณะที่ยังเป็นตัวอ่อน เนื้อเยื่อของหลอดลมและหลอดอาหารเป็นท่อรวมท่อเดียวกัน ต่อมาจึงมีการเจริญแยกจากกันโดยหลอดอาหารอยู่ด้านหลังส่วนหลอดลมอยู่ด้านหน้า หากมีการเจริญผิดปกติท่อทั้งสองนี้ อาจแยกจากกันไม่สมบูรณ์ Esophageal atresia (EA) หมายถึง หลอดอาหารตัน เกิดจากหลอดอาหารช่วงบนและช่วงล่างไม่เจริญเชื่อมติดกันเป็นช่องได้ตลอดแนว Tracheoesophageal fistule [T-E fistula ] หมายถึง การมีรูติดต่อระหว่างหลอดลมและหลอดอาหาร อาจพบร่วมกับ esophageal atresia

อาการทางคลินิก

ส่วนมากจะมีอาการผิดปกติตั้งแต่แรกเกิดใหม่ๆ  ไม่กี่ชั่วโมง และจะชัดขึ้นเมื่ออายุได้ 2-3 วัน

  1. มีน้ำลายมาก  ไอ  เมื่อดูดเอาออกทิ้ง  จะมีขึ้นมาอีกในเวลาไม่นาน
  2. สำลักง่าย  เมื่อให้ดูดน้ำ  ทารกจะสำรอกทันที
  3. ท้องอืด  หายใจลำบาก เขียว และอาจหยุดหายใจได้
  4. มักมีปอดอักเสบร่วมด้วยเสมอ เนื่องจากสำลักเอาน้ำลายหรือน้ำเข้าไป หรือของเหลวในกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหารผ่านรูติดต่อไปยังหลอดลมและปอด

การวินิจฉัย

  1. อาการทางคลินิก  และมักพบในทารกที่เกิดจากมารดาที่มี polyhydramnios
  2. ใส่  N – G tube  ลงไปได้ไม่ตลอด
  3. X – ray  พบลมในกระเพาะอาหาร

การรักษา   

แล้วแต่แบบของความผิดปกติโดยผ่าตัดปิดรูติดต่อนั้นและต่อหลอดอาหาร

การพยาบาล

ในระยะก่อนผ่าตัด
  1. ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
    1. ให้อยู่ในตู้อบ  มีความชื้นเพียงพอ ,  NPO
    2. ดูแลให้ได้รับออกซิเจน ,  ประเมินอาการขาดออกซิเจน
    3. จัดท่านอน  ป้องกันการสูดสำลัก  หรือป้องกันของเหลวในกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้าไปในหลอดลม  แล้วแต่แบบของความผิดปกติ
    4. ดูดเสมหะ ,  น้ำลายบ่อยๆ
  2. ดูแลให้ได้รับสารน้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอทางหลอดเลือดดำ และ/หรือให้นมทางสายยาง (gastrostomy tube หรือ  N-G tube)  ให้อย่างช้าๆ  ยกศีรษะสูง
  3. ประคับประคองด้านจิตใจ อารมณ์เด็กป่วยและบิดามารดา
ในระยะหลังการผ่าตัด
  1. ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
    1. ให้อยู่ในตู้อบ  ให้ออกซิเจนที่มีความชื้นสูง  ประเมินอาการขาดออกซิเจน
    2. ดูดน้ำลายและเสมหะให้บ่อยๆ  อย่างนุ่มนวล
  2. ป้องกันการแยกของแผลที่เย็บปิดรูติดต่อ  หรือแผลที่ต่อหลอดอาหาร
    1. นอนยกศีรษะสูง 45 ํ- 60 ํ  ไม่ให้เงยหน้ามากเกินไป [hyperextension]
    2. ดูดเสมหะอย่างนุ่มนวล   ใส่สายยางไม่ลึกเกินกว่าที่แพทย์กำหนด   ระมัดระวังการทำกายภาพบำบัดทรวงอก
    3. รายที่แพทย์คาสายยางไม่ว่าจะเป็นชนิดใด พยายามอย่าให้ หลุด  ถ้าหลุดรีบรายงานแพทย์ทราบ  ไม่ใส่กลับเข้าไปใหม่เอง
    4. ถ้าเริ่มให้น้ำหรือนมทางสายยาง ต้องให้แบบช้าๆ  ให้เสร็จแล้ว แขวนปลาย tube อยู่สูงกว่าลำตัวและเปิดปลาย tubeไว้
    5. ขณะให้น้ำหรือนม  ต้องยกศีรษะสูงเสมอ
  3. ดูแลให้ได้รับสารน้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอ
    1. ให้ทางหลอดเลือดดำในระยะแรกๆ  ต่อมาจึงให้ทางสายยาง
    2. เริ่มให้ทางปาก ประมาณวันที่  8-10  หลังผ่าตัด  ให้ร่วมกับการให้ทางสายยางในระยะแรก  และพิจารณาให้ทางปากทั้งหมดประมาณปลายสัปดาห์ที่  2-3  หลังผ่าตัด
  4. ป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าตัดที่ทรวงอก
  5. ประคับประคองจิตใจของเด็กป่วย เช่น ลดความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน  โดยเฉพาะความต้องการดูด  และจิตใจของบิดามารดา
ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
  1. gastroesophageal reflux (อาหารหรือนมไหลย้อนจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหาร)
  2. aspirated pneumonia
  3. esophageal stricture มักพบในระยะ 5-6 เดือนแรก ต้องให้คำแนะนำบิดามารดา ให้สังเกตอาการ ของภาวะแทรกซ้อนนี้  เมื่อนำเด็กกลับไปเลี้ยงที่บ้าน
Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *