Category:

Normal newborn

babies toys

ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 6 เดือน

ถ้าท่านค้นหา “ของเล่นส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิด” ข้อมูลความเห็นมากมายที่มาพร้อมกับลิงค์สั่งซื้อ และโปรโมชั่นห่อของขวัญ คงดึงดูดหลายๆ ท่าน จนยากจะตัดสินใจว่าจะเลือกอะไรดี… บทความนี้อาสาเป็นคำแนะนำเพื่อช่วยท่านที่กำลังหาของขวัญดีๆ ให้สมาชิกใหม่ ที่ท่านไม่อยากพลาดโอกาสที่ปลื้มคนให้ แถมยังดีต่อวัยและพัฒนาการของคนรับ ที่สมองกำลังหิวกระหายการเรียนรู้จากทุกสัมผัส วัยทารกเป็นวัยที่มีพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ทำให้ทารกสามารถเริ่มพลิกคว่ำหงายได้เมื่ออายุ 3–4 เดือน  ส่วนพัฒนาการด้านสังคม ทารกยังไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ดังนั้นใครเล่นด้วยก็ได้ แต่ก็จะมีหลากหลายอารมณ์ พอใจก็นิ่งสงบ ยิ้ม ถ้าไม่ได้ดั่งใจก็โวยวายร้องไห้  พัฒนาการด้านภาษาจะเริ่ม ส่งเสียงอู อา ซึ่งทารกวัยนี้เป็นวัยที่มีการพัฒนาความไว้วางใจซึ่งจะเกิดจากการได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เช่น หิวให้ดูดนม ให้ความรักด้วยการกอดสัมผัส อุ้มชู  นอกจากนี้ เด็กวัยทารกเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ ผู้ดูแลจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกเพื่อเลือกกิจกรรมที่จะเล่น และเลือกของเล่นที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัย   ซึ่งของเล่น สามรถนำมาใช้ส่งเสริมพัฒนาของทารก เพื่อสร้างประสบการณ์และการเรียนรู้ พัฒนาสมองและความพร้อมในพัฒนาการในช่วงวัยต่อไป มาดูกันเลยว่า… ของเล่นส่งเสริมพัฒนาการที่น่าสนใจมีอะไรน่าสนใจบ้าง 1. ตุ๊กตานุ่มนิ่ม  เด็กแรกเกิดจะเติบโตขึ้นผูกพันระดับ Best Friend Forever หรือ Loveys กับของใช้ส่วนตัวบางชิ้น ที่อาจจะเป็นหมอน ผ้า หรือตุ๊กตา ซึ่งการเลือกของเล่นนุ่มนิ่มให้ทารกอย่างใส่ใจ อาจหมายถึงความมั่นคงทางจิตใจ ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไร ทารกก็จะเติบโตขึ้นและผูกพันขั้น Strong Attachment กับของใช้บางอย่าง ซึ่งดีกับช่วงวัยหนึ่งถึงขั้นที่นักจิตวิทยาเรียกว่า Transitional Objects การเลือกของเล่นเป็นตุ๊กตานุ่มนิ่ม ให้ทารกจึงต้องวางแผนและคิดเยอะขึ้นอีกหน่อย หากของเล่นที่เลือกกลายเป็น Transitional Objects หรือ Lovey ของเขา 2. กุ๊งกิ๊ง หรือ ของเล่นถือเขย่า  ทารกอายุ 2–4 เดือนจะถือของเล่นด้วยมือเดียวได้แล้ว ซึ่งของเล่นถือเขย่ามีเสียงจะสำคัญกับพัฒนาการทั้งอารมณ์ กล้ามเนื้อและประสาทสัมผัส

Continue reading ➝
พัฒนาการที่สำคัญและแนวทางการดูแลเด็กในช่วงอายุ 0-35 เดือนแรก

พัฒนาการที่สำคัญและแนวทางการดูแลเด็กในช่วงอายุ 0-35 เดือนแรก

ช่วง 0-35 เดือนแรกเป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการหลากหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย การรับรู้และเรียนรู้ อารมณ์และอื่น ๆ อีกหลายด้าน ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่พ่อแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจเพื่อที่จะสามารถดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเหล่านี้อย่างสอดคล้องกับช่วงวัยของเด็ก เอกสารเรื่องพัฒนาการที่สำคัญและแนวทางการดูแลเด็กในช่วง 0-35 เดือนแรก ที่จัดทำโดยองค์การยูนิเซฟนำเสนอข้อเท็จจริงและข้อแนะนำแนวทางในการปฏิบัติที่สำคัญสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วง 0-35 เดือนแรก

Continue reading ➝

อาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ของทารกและเด็กเล็ก

อาหารและโภชนาการที่ดีในวัยทารกและเด็กเล็กเป็นพื้นฐานที่สำคัญของสุขภาพและสติปัญญาที่ดีในระยะยาว ปัจจุบันนี้ เด็กไทยนับล้านคนยังมีปัญหาโภชนาการทั้งโรคขาดสารอาหาร โรคอ้วน และนิสัยการกินอาหารไม่เหมาะสม สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวจึงได้จัดทำคู่มือ อาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ของทารกและเด็กเล็ก โดยปรับปรุงจากหนังสือ Facts for Life ขององค์การยูนิเซฟ

Continue reading ➝
คู่มือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

คู่มือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ทารกที่กินนมแม่จะได้รับสารอาหารที่ดีกว่าและป่วยด้วยโรคติดเชื้อและโรคภูมิแพ้น้อยกว่า กลุ่มที่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารอื่น และเติบโตอย่างมีพัฒนาการที่ดีกว่าทารกที่ถูกเลี้ยงด้วยนมผสมและอาหารอื่น

Continue reading ➝
Best practice in skin care for pediatric patients

Best practice in skin care for pediatric patients

ไฟล์นำเสนอเรื่อง “Best practice in skin care for pediatric patients” ในการประชุมวิชาการเรื่อง Best practice in pediatric จัดโดยสถานบริการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ 2554

Continue reading ➝

การเจริญเติบโต พัฒนาการและการสร้างเสริมสุขภาพทารกแรกเกิด

การดูแลทารกแรกเกิดที่ไม่เจ็บป่วย เช่น ทารกที่รอกลับบ้านพร้อมแม่หลังคลอด เพื่อไม่ให้ทารกเจ็บป่วย  ไม่อยู่โรงพยาบาลนาน  ไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายของการรักษาจากการเกิดโรคแทรกซ้อน  จากความบกพร่องของการดูแลนั้น ต้องใช้หลักการสร้างเสริมสุขภาพ โดยหลักการดูแลต้องมุ่งที่การป้องกันการเจ็บป่วย  โดยปฏิบัติตามหลักการดูแลทารกแรกเกิดอย่างครบถ้วนและเคร่งครัด  ซึ่งพยาบาลที่ดูแลทารกจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะและสรีรวิทยาของทารกแรกเกิด  เพราะช่วงนี้เป็นช่วงสำคัญของชีวิต  เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยามาก  จากการที่ทารกพึ่งพามารดาขณะอยู่ในครรภ์มาเป็นพึ่งพาตัวเองนอกครรภ์มารดา  ทำให้อัตราการเจ็บป่วยและอัตราการตายของทารกในระยะนี้สูงกว่าเด็กวัยอื่นๆ

Continue reading ➝