Category:

newborn

Newborn

Primitive Reflexes… กิริยาตอบสนองดั้งเดิมของทารก

โดยปกติ… ทารกในครรภ์มารดาจะเริ่มดิ้นให้คนเป็นแม่ ได้รับสัมผัสสุดพิเศษที่มีเฉพาะแม่ผู้ให้กำเนิดเท่านั้นที่จะได้สัมผัส และเมื่อทารกถือกำเนิดขึ้น การขยับอวัยวะแขนขา หรือการดิ้นเหมือนตอนอยู่ในท้องจะยังติดมา แต่พื้นที่ให้ยืดแขนขามีมากกว่าตอนอยู่ในท้อง และยังได้สัมผัสอากาศภายนอก ที่ระบบทางเดินหายใจเริ่มขับเคลื่อนเครื่องจักรชีวภาพในตัวทุกชิ้น… ทารกเกิดใหม่จึงมีการเคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทาง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเรียกกิริยาการดิ้นและปฏิกิริยาของทารกเกิดใหม่นี้โดยรวมว่า Primitive Reflex หรือ Infantile Reflexes หรือ  Infant Reflexes หรือ Newborn Reflexes Primitive Reflexes เป็นปฏิกิริยาทางประสาทวิทยาที่มีในทารกแรกเกิดทุกคน และจะหายไปเมื่อเด็กเติบโตขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งหายไปเพราะสมองส่วนหน้าเจริญเติบโตขึ้น อย่างไรก็ตาม เด็กโตและผู้ใหญ่ที่มีสภาวะของระบบประสาทไม่ปกติ เช่น คนไข้อัมพาตสมองใหญ่ ภาวะสมองเสื่อม, การบาดเจ็บทางสมอง โดยกลไกสำคัญในการควบคุม Primitive Reflexes คือ ระบบประสาทสั่งการนอกพีระมิด หรือ Extrapyramidal System และเมื่อเส้นใยประสาทพีระมิด หรือ Pyramidal Tracts ทำงานได้มากขึ้น อาการ Primitive Reflexes จึงจะหายไป ประเด็นก็คือ Primitive Reflexes ที่มีในเด็กทารกแรกเกิด กับที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่เนื่องจากการบกพร่องทางสมองและประสาทนั้น อาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ซึ่งในบทนี้จะพูดถึงเฉพาะ Primitive Reflexes ในทารกแรกเกิด ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกและสูติกรรม ใช้ในการประเมินสุขภาพทารกแรกเกิด ซึ่งมีแนวปฏิบัติหรือ Guideline ชัดเจนว่าจะต้องประเมินในมิติดังนี้คือ   Rooting Reflex เป็นปฏิกิริยาสัมพันธ์กับการกิน ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 3–4 เดือน และหากยังพบหลงเหลืออยู่อาจส่งผลต่อ การกลืน หรือ Swallowing การรับประทานอาหาร หรือ Feeding การพูด

Continue reading ➝
crescent moon and cloud wind chimes

เชิญชวนดาวน์โหลด งานวิจัยฉบับเต็ม หัวข้อ Maternal participation on preterm infants care reduces the cost of delivery of preterm neonatal healthcare services

Thailand, with an annual incidence rate of 12% ranks high in incidence of preterm birth. Preterm infants require specialized care which can be lengthy and costly both in terms of psychological and emotional stress and healthcare services. The rapid rise of cost of healthcare services is a major concern for Thai government and public.

Continue reading ➝
พัฒนาการที่สำคัญและแนวทางการดูแลเด็กในช่วงอายุ 0-35 เดือนแรก

พัฒนาการที่สำคัญและแนวทางการดูแลเด็กในช่วงอายุ 0-35 เดือนแรก

ช่วง 0-35 เดือนแรกเป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการหลากหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย การรับรู้และเรียนรู้ อารมณ์และอื่น ๆ อีกหลายด้าน ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่พ่อแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจเพื่อที่จะสามารถดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเหล่านี้อย่างสอดคล้องกับช่วงวัยของเด็ก เอกสารเรื่องพัฒนาการที่สำคัญและแนวทางการดูแลเด็กในช่วง 0-35 เดือนแรก ที่จัดทำโดยองค์การยูนิเซฟนำเสนอข้อเท็จจริงและข้อแนะนำแนวทางในการปฏิบัติที่สำคัญสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วง 0-35 เดือนแรก

Continue reading ➝

อาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ของทารกและเด็กเล็ก

อาหารและโภชนาการที่ดีในวัยทารกและเด็กเล็กเป็นพื้นฐานที่สำคัญของสุขภาพและสติปัญญาที่ดีในระยะยาว ปัจจุบันนี้ เด็กไทยนับล้านคนยังมีปัญหาโภชนาการทั้งโรคขาดสารอาหาร โรคอ้วน และนิสัยการกินอาหารไม่เหมาะสม สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวจึงได้จัดทำคู่มือ อาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ของทารกและเด็กเล็ก โดยปรับปรุงจากหนังสือ Facts for Life ขององค์การยูนิเซฟ

Continue reading ➝
คู่มือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

คู่มือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ทารกที่กินนมแม่จะได้รับสารอาหารที่ดีกว่าและป่วยด้วยโรคติดเชื้อและโรคภูมิแพ้น้อยกว่า กลุ่มที่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารอื่น และเติบโตอย่างมีพัฒนาการที่ดีกว่าทารกที่ถูกเลี้ยงด้วยนมผสมและอาหารอื่น

Continue reading ➝
Patent Ductus Arteriosus ในทารกแรกเกิด

Patent Ductus Arteriosus ในทารกแรกเกิด

PDA พบได้บ่อยในทารกแรกเกิดโดยเฉพาะทารกเกิดก่อนกำหนด และมีกลุ่มอาการหายใจลำบากรุนแรง ( severe respiratory distress syndrome ) พบบ่อยขึ้นในทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 1,000 กรัม ( extremely low birth weight ) ซึ่งมีอัตราการเกิด PDA สูงถึงร้อยละ 70

Continue reading ➝

อายุของทารกแรกเกิดในระยะปริกำเนิด

นิยามคำศัพท์ ทารกแรกเกิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกเกิดก่อนกำหนดจะมีอายุที่จะต้องประเมินและเกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลที่หลากหลาย  การให้คำนิยามของแต่ละอายุของทารกแรกเกิดอย่างชัดเจนและตรงกันในระหว่างสถาบันมีความสำคัญเพื่อนำไปใช้ในการประเมินพัฒนาการด้านระบบประสาท ( neurodevelopment ) เป็นแนวทางการรักษาพยาบาลในบางด้าน ตลอดจนเพื่อให้การติดตามและรายงานผลลัพธ์ด้านสุขภาพของทารกแรกเกิดมีความน่าเชื่อถือ

Continue reading ➝
พยาบาลกับการเฝ้าระวัง

ภาวะติดเชื้อในระยะแรกในทารกแรกเกิด

พยาบาลกับการเฝ้าระวัง ภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด (neonatal sepsis )เป็นกลุ่มอาการทางคลินิกที่เกิดจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตของทารกแรกเกิด ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุการตายและความพิการที่สำคัญในประเทศไทย ภาวะติดเชื้อในระยะแรก ( early sepsis ) เป็นภาวะที่การติดเชื้อนั้นเกิดขึ้นระหว่าง 72 ชั่วโมงหรือสัปดาห์แรกหลังเกิด ( Makhoul,et al,2002, Behrman, Kleigman&Jenson, 2003 ) ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากทารกได้รับเชื้อโรคจากร่างกายของมารดาซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายทารกได้ 4 ทางคือ1)เชื้อจากช่องคลอดเข้าไปในถุงน้ำคร่ำทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อที่สายสะดือและเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดของสายสะดือ 2)ทารกหายใจหรือกลืนเอาน้ำคร่ำที่มีเชื้อโรคปนอยู่ 3)เชื้อโรคติดอยู่กับผิวหนังหรือเยื่อบุต่างๆ ของทารกขณะผ่านช่องคลอดของมารดา 4) ทารกได้รับเชื้อจากมารดาที่มีการติดเชื้อในกระแสโลหิตในระยะก่อนคลอดผ่านทางรก เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของภาวะติดเชื้อในระยะแรกที่พบบ่อยคือแบคทีเรียกลุ่มกรัมบวก ได้แก่ group B streptococci (GBS) ,enterococci, S.pneumoniae, S.aureus และแบคทีเรียกลุ่มกรัมลบได้แก่ E.coli, K. pneumonia

Continue reading ➝
Best practice in skin care for pediatric patients

Best practice in skin care for pediatric patients

ไฟล์นำเสนอเรื่อง “Best practice in skin care for pediatric patients” ในการประชุมวิชาการเรื่อง Best practice in pediatric จัดโดยสถานบริการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ 2554

Continue reading ➝
Breast feeding

Best Practices for Breastfeeding in the Preterm infants

ไฟล์นำเสนอเรื่อง Best Practices for  Breastfeeding in the Preterm infants โดย ผศ.พัชรี วรกิจพูนผล ในการประชุม “Best practice in Pediatric” วันที่ 16-18 กพ.2554 ณ โรงแรมอโมราท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดยสถานบริการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Continue reading ➝