Category:

การส่งเสริมพัฒนาการ

Newborn

Primitive Reflexes… กิริยาตอบสนองดั้งเดิมของทารก

โดยปกติ… ทารกในครรภ์มารดาจะเริ่มดิ้นให้คนเป็นแม่ ได้รับสัมผัสสุดพิเศษที่มีเฉพาะแม่ผู้ให้กำเนิดเท่านั้นที่จะได้สัมผัส และเมื่อทารกถือกำเนิดขึ้น การขยับอวัยวะแขนขา หรือการดิ้นเหมือนตอนอยู่ในท้องจะยังติดมา แต่พื้นที่ให้ยืดแขนขามีมากกว่าตอนอยู่ในท้อง และยังได้สัมผัสอากาศภายนอก ที่ระบบทางเดินหายใจเริ่มขับเคลื่อนเครื่องจักรชีวภาพในตัวทุกชิ้น… ทารกเกิดใหม่จึงมีการเคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทาง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเรียกกิริยาการดิ้นและปฏิกิริยาของทารกเกิดใหม่นี้โดยรวมว่า Primitive Reflex หรือ Infantile Reflexes หรือ  Infant Reflexes หรือ Newborn Reflexes Primitive Reflexes เป็นปฏิกิริยาทางประสาทวิทยาที่มีในทารกแรกเกิดทุกคน และจะหายไปเมื่อเด็กเติบโตขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งหายไปเพราะสมองส่วนหน้าเจริญเติบโตขึ้น อย่างไรก็ตาม เด็กโตและผู้ใหญ่ที่มีสภาวะของระบบประสาทไม่ปกติ เช่น คนไข้อัมพาตสมองใหญ่ ภาวะสมองเสื่อม, การบาดเจ็บทางสมอง โดยกลไกสำคัญในการควบคุม Primitive Reflexes คือ ระบบประสาทสั่งการนอกพีระมิด หรือ Extrapyramidal System และเมื่อเส้นใยประสาทพีระมิด หรือ Pyramidal Tracts ทำงานได้มากขึ้น อาการ Primitive Reflexes จึงจะหายไป ประเด็นก็คือ Primitive Reflexes ที่มีในเด็กทารกแรกเกิด กับที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่เนื่องจากการบกพร่องทางสมองและประสาทนั้น อาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ซึ่งในบทนี้จะพูดถึงเฉพาะ Primitive Reflexes ในทารกแรกเกิด ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกและสูติกรรม ใช้ในการประเมินสุขภาพทารกแรกเกิด ซึ่งมีแนวปฏิบัติหรือ Guideline ชัดเจนว่าจะต้องประเมินในมิติดังนี้คือ   Rooting Reflex เป็นปฏิกิริยาสัมพันธ์กับการกิน ถูกยับยั้งเมื่ออายุ 3–4 เดือน และหากยังพบหลงเหลืออยู่อาจส่งผลต่อ การกลืน หรือ Swallowing การรับประทานอาหาร หรือ Feeding การพูด

Continue reading ➝

คุณพ่อนักอ่าน กับความสำคัญต่อลูกวัยก่อนเรียน

รายงานการวิจัยของ Dr. Elisabeth Duursma จึงอภิปรายไว้ตอนหนึ่งว่า การอ่านหนังสือโดยบิดาให้ทารกก่อนอายุ 2 ขวบปีฟัง ถือเป็นเรื่องพิเศษที่มีผลต่อสติปัญญาและพัฒนาการทางภาษาของลูกอย่างมีนัยยะสำคัญ

Continue reading ➝
พัฒนาการที่สำคัญและแนวทางการดูแลเด็กในช่วงอายุ 0-35 เดือนแรก

พัฒนาการที่สำคัญและแนวทางการดูแลเด็กในช่วงอายุ 0-35 เดือนแรก

ช่วง 0-35 เดือนแรกเป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการหลากหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย การรับรู้และเรียนรู้ อารมณ์และอื่น ๆ อีกหลายด้าน ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่พ่อแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจเพื่อที่จะสามารถดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเหล่านี้อย่างสอดคล้องกับช่วงวัยของเด็ก เอกสารเรื่องพัฒนาการที่สำคัญและแนวทางการดูแลเด็กในช่วง 0-35 เดือนแรก ที่จัดทำโดยองค์การยูนิเซฟนำเสนอข้อเท็จจริงและข้อแนะนำแนวทางในการปฏิบัติที่สำคัญสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วง 0-35 เดือนแรก

Continue reading ➝
คู่มือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

คู่มือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ทารกที่กินนมแม่จะได้รับสารอาหารที่ดีกว่าและป่วยด้วยโรคติดเชื้อและโรคภูมิแพ้น้อยกว่า กลุ่มที่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารอื่น และเติบโตอย่างมีพัฒนาการที่ดีกว่าทารกที่ถูกเลี้ยงด้วยนมผสมและอาหารอื่น

Continue reading ➝

การส่งเสริมพัฒนาการวัยทารก

การพัฒนาการในระบบต่างๆ ของทารกก็จะค่อยๆ ดีขึ้นกว่าตอนแรกเกิด ความสมบูรณ์ของระบบประสาทจะค่อยๆ พัฒนาโดยสังเกตได้จากการที่ทารกสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นตามลำดับ ผู้ดูแลควรมีการประเมินพัฒนาการทารกอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้ตรวจสอบสัญญาณเตือนถึงพัฒนาการล่าช้า

Continue reading ➝