ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 6 เดือน

babies toys

ถ้าท่านค้นหา “ของเล่นส่งเสริมพัฒนาการทารกแรกเกิด” ข้อมูลความเห็นมากมายที่มาพร้อมกับลิงค์สั่งซื้อ และโปรโมชั่นห่อของขวัญ คงดึงดูดหลายๆ ท่าน จนยากจะตัดสินใจว่าจะเลือกอะไรดี… บทความนี้อาสาเป็นคำแนะนำเพื่อช่วยท่านที่กำลังหาของขวัญดีๆ ให้สมาชิกใหม่ ที่ท่านไม่อยากพลาดโอกาสที่ปลื้มคนให้ แถมยังดีต่อวัยและพัฒนาการของคนรับ ที่สมองกำลังหิวกระหายการเรียนรู้จากทุกสัมผัส

วัยทารกเป็นวัยที่มีพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ทำให้ทารกสามารถเริ่มพลิกคว่ำหงายได้เมื่ออายุ 3–4 เดือน 

ส่วนพัฒนาการด้านสังคม ทารกยังไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ดังนั้นใครเล่นด้วยก็ได้ แต่ก็จะมีหลากหลายอารมณ์ พอใจก็นิ่งสงบ ยิ้ม ถ้าไม่ได้ดั่งใจก็โวยวายร้องไห้ 

พัฒนาการด้านภาษาจะเริ่ม ส่งเสียงอู อา ซึ่งทารกวัยนี้เป็นวัยที่มีการพัฒนาความไว้วางใจซึ่งจะเกิดจากการได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เช่น หิวให้ดูดนม ให้ความรักด้วยการกอดสัมผัส อุ้มชู 

นอกจากนี้ เด็กวัยทารกเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ ผู้ดูแลจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกเพื่อเลือกกิจกรรมที่จะเล่น และเลือกของเล่นที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัย   ซึ่งของเล่น สามรถนำมาใช้ส่งเสริมพัฒนาของทารก เพื่อสร้างประสบการณ์และการเรียนรู้ พัฒนาสมองและความพร้อมในพัฒนาการในช่วงวัยต่อไป

มาดูกันเลยว่า… ของเล่นส่งเสริมพัฒนาการที่น่าสนใจมีอะไรน่าสนใจบ้าง

1. ตุ๊กตานุ่มนิ่ม 

เด็กแรกเกิดจะเติบโตขึ้นผูกพันระดับ Best Friend Forever หรือ Loveys กับของใช้ส่วนตัวบางชิ้น ที่อาจจะเป็นหมอน ผ้า หรือตุ๊กตา ซึ่งการเลือกของเล่นนุ่มนิ่มให้ทารกอย่างใส่ใจ อาจหมายถึงความมั่นคงทางจิตใจ ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไร ทารกก็จะเติบโตขึ้นและผูกพันขั้น Strong Attachment กับของใช้บางอย่าง ซึ่งดีกับช่วงวัยหนึ่งถึงขั้นที่นักจิตวิทยาเรียกว่า Transitional Objects การเลือกของเล่นเป็นตุ๊กตานุ่มนิ่ม ให้ทารกจึงต้องวางแผนและคิดเยอะขึ้นอีกหน่อย หากของเล่นที่เลือกกลายเป็น Transitional Objects หรือ Lovey ของเขา

2. กุ๊งกิ๊ง หรือ ของเล่นถือเขย่า 

ทารกอายุ 2–4 เดือนจะถือของเล่นด้วยมือเดียวได้แล้ว ซึ่งของเล่นถือเขย่ามีเสียงจะสำคัญกับพัฒนาการทั้งอารมณ์ กล้ามเนื้อและประสาทสัมผัส

Babies Toys
pets-mobile

3. โมบายและของแขวน

ช่วงวัย 0-2 เดือนของทารกจะเติบโตเรียนรู้จากเสียงที่ได้ยินและสิ่งที่มองเห็น เราจะเห็นทารกวัยนี้หันตามเสียง สบตา มอง และหันตามสิ่งของ ซึ่งกระตุ้นกล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกายจนเห็นการขยับมือเท้าแขนขา เห็นอารมณ์ที่ปลดปล่อยออกมา ซึ่งสมองของทารกเองก็กำลังเรียนรู้

4. ของถือและยางกัด

ความมั่นคงทางอารมณ์ที่กระตุ้นผ่านการกินและการกัด เป็นพื้นฐานความอยู่รอดเบื้องต้น ซึ่งการได้รับการสนองตอบที่ปาก หมายความถึงการมีอาหารกินและกลไกการอยู่รอดจากก้านสมองจะไม่เกรี้ยวกราดดิ้นรน ซึ่งของเล่นที่กัดได้ กับนมและอาหารก่อนหิวจัด จึงสำคัญกับพื้นฐานอารมณ์ของทารกไปตลอดจนเติบโต

ของเล่ยกัด สำหรับทารก
ของเล่นมีเสียง

4. ของเล่นมีเสียง 

ในที่นี้หมายถึงของเล่น AI ที่ฟังก์ชั่นส่วนใหญ่เน้นการสื่อสารกับทารก โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อทดแทนพ่อแม่หรือผู้ดูแล ของเล่นที่เก็บเพลงกล่อมนอนหรือเสียงปลอบของแม่ พร้อมระบบตรวจจับเสียงร้องไห้ยามทารกตื่นเพราะไม่สุขสบายเนื้อตัว หรือถูกรบกวนจากสิ่งแวดล้อมและภาวะต่างๆ

5. หนังสือผ้า

หนังสือที่ทำจากผ้า ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองเตรียมไว้ให้ลูกสัมผัส สอนการเปิดและพลิกหน้าหนังสือตั้งแต่เป็นทารก นักจิตวิทยาเด็กหลายคนยืนยันว่าเป็นการชิงพื้นที่สมอง ให้รู้จักหนังสือเอาไว้ตั้งแต่ต้น มีงานวิจัยพบว่า  

กระจกสำหรับทารก

6. กระจกเงาทารก

ทารกอายุ 4-6 เดือนจะรู้จักชื่อตัวเองจากการถูกเรียกซ้ำๆ จากคนรอบข้าง และสนใจตัวเองในกระจกเงา การทำรูปทารกใส่หมอน หรือกรอบรูปผ้า เหมือนเป็นกระจกเงา วางไว้รอบพื้นที่ซึ่งทารกกำลังจะหัดลุกนั่งด้วยตัวเอง 

7. หุ่นมือ

หุ่นสวมมือสำหรับพ่อแม่หรือผู้ดูและ ใช้สวมมือและเล่นบทบาทสมมุติกับทารก ด้วยเรื่องเล่า บทสนทนาและกระตุ้นสัมผัส

หุ่นสวมมือ