Author:

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริศนา สุนทรไชย

อายุของทารกแรกเกิดในระยะปริกำเนิด

นิยามคำศัพท์ ทารกแรกเกิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกเกิดก่อนกำหนดจะมีอายุที่จะต้องประเมินและเกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลที่หลากหลาย  การให้คำนิยามของแต่ละอายุของทารกแรกเกิดอย่างชัดเจนและตรงกันในระหว่างสถาบันมีความสำคัญเพื่อนำไปใช้ในการประเมินพัฒนาการด้านระบบประสาท ( neurodevelopment ) เป็นแนวทางการรักษาพยาบาลในบางด้าน ตลอดจนเพื่อให้การติดตามและรายงานผลลัพธ์ด้านสุขภาพของทารกแรกเกิดมีความน่าเชื่อถือ

พยาบาลกับการเฝ้าระวัง

ภาวะติดเชื้อในระยะแรกในทารกแรกเกิด

พยาบาลกับการเฝ้าระวัง ภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด (neonatal sepsis )เป็นกลุ่มอาการทางคลินิกที่เกิดจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตของทารกแรกเกิด ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุการตายและความพิการที่สำคัญในประเทศไทย ภาวะติดเชื้อในระยะแรก ( early sepsis ) เป็นภาวะที่การติดเชื้อนั้นเกิดขึ้นระหว่าง 72 ชั่วโมงหรือสัปดาห์แรกหลังเกิด ( Makhoul,et al,2002, Behrman, Kleigman&Jenson, 2003 ) ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากทารกได้รับเชื้อโรคจากร่างกายของมารดาซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายทารกได้ 4 ทางคือ1)เชื้อจากช่องคลอดเข้าไปในถุงน้ำคร่ำทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อที่สายสะดือและเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดของสายสะดือ 2)ทารกหายใจหรือกลืนเอาน้ำคร่ำที่มีเชื้อโรคปนอยู่

ผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจแต่กำเนิด

VSDโรคหัวใจแต่กำเนิดเป็นโรคที่มีความผิดปกติของโครงสร้างในหัวใจหรือหลอดเลือด เกิดเนื่องจากโครงสร้างในหัวใจหรือหลอดเลือดมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจทำให้ทารกแสดงอาการตั้งแต่แรกเกิดหรือแสดงอาการและตรวจพบได้ในระยะต่อมาเมื่อเป็นเด็กเล็กหรือจนกระทั่งเป็นเด็กโตได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจแต่กำเนิด ประมาณ90 % คือไม่ทราบสาเหตุ มีเพียงที่10 % ที่ทราบสาเหตุ ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยได้แก่เกิดร่วมกับโรคทางพันธุกรรม จากการติดเชื้อหัดเยอรมันในหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในระหว่าง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ มารดาได้รับการฉายรังสีขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก มารดารับประทานยาบางชนิด สูบบุหรี่หรือดื่มสุราในขณะตั้งครรภ์ อุบัติการของโรคหัวใจแต่กำเนิดในประเทศไทยประมาณ 8: 1000 ชนิดที่พบบ่อยได้แก่ VSD ASD

Late preterm infant

ทารกเกิดก่อนกำหนดคือทารกที่เกิดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์  ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า 72 % ของทารกเกิดก่อนกำหนดเป็นทารกที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 34 ถึง 36 +6  สัปดาห์  ( Hamilton, Martin, & Ventura, 2007 )  ซึ่งหมายถึง 1 ใน 11 ของทารกเกิดมีชีพเป็นทารกกลุ่มนี้ ทารกที่มีอายุครรภ์ต่ำกว่า

การลดการสูญเสียน้ำและความร้อนทางผิวหนังในทารกเกิดก่อนกำหนด

การควบคุมอุณหภูมิกายให้เป็นปกติมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด  เนื่องจากทารกเกิดก่อนกำหนดมีความสามารถในการปรับตัวให้มีอุณหภูมิกายคงที่จำกัด  หากไม่สามารถควบคุมให้ทารกมีอุณหภูมิกายปกติจะทำให้ทารกเสี่ยงที่เสียชีวิต ความเจ็บป่วยที่เป็นอยู่รุนแรง มากขึ้น  หรือทำให้อัตราการเกิดโรค (morbidity)  ในทารกเพิ่มขึ้น

อาการชักในทารกแรกเกิด (Neonatal seizure)

อาการชัก เป็นอาการที่มีความสำคัญมากอย่างหนึ่ง และพบได้บ่อยในทารกแรกเกิด โดยเฉพาะทารกในหออภิบาลทารกแรกเกิด โดยพบได้ร้อยละ 25 ของทารกที่รับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิด  ซึ่งร้อยละ 85 เกิดขึ้นภายในอายุ  15 วัน  และร้อยละ 65  เกิดขึ้นระหว่างอายุ 2 – 5 วัน  (พิมลรัตน์  ไทยธรรมยานนท์, 2545)   อาการชักเป็นสิ่งแสดงสิ่งแรกที่พบบ่อยเมื่อสมองเริ่มทำงานผิดปกติ  หากปล่อยให้ทารกแรกเกิดชักอย่างรุนแรง  ชักติดต่อกันเป็นเวลานาน